Buddhist eLibrary - An Online Digitl Resource Library Home :: Login
 
 
Home About Contact Admin Choose a language
eBook Library Image Library Audio Library Video Library
 
 
พันธมิตร
Buddhist eLibrary Feature: Buddhist Studies
การเชื่อมโยง
exabytes network
Social Bookmarks
Home > ห้องสมุดหนังสือ
Last additions - ห้องสมุดหนังสือ
Mahabundit.pdf
Mahabundit.pdfมหาบัณฑิตสัมมนา996 viewsโดยพระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) และคณะ

หนังสือ "มหาบัณฑิตสัมมนา" เป็นหนังสือวิชาการที่พิมพ์ในโอกาสครบรอง ๑๒ ปี ของบัณฑิตวิทยาลัย เนื้อหาประกอบด้วยปาฐกถาที่บัณฑิตวิทยาลัยจัดสัมมนาประจำสัปดาห์ โดยเชิญผู้ทรงคุณวุฒิมาบรรยาย และรายงานดีเด่นของนิสิต ซึ่งบัณฑิตวิทยาลัยได้มอบให้อาจารย์ผู้บรรยายคัดจากรายงานที่นิสิตส่งประกอบการศึกษาวิชาต่างๆ ในระดับบัณฑิตศึกษา ทั้งที่เป็นพระนิสิตและนิสิตคฤหัสถ์ ในปีการศึกษา ๒๕๔๑-๒๕๔๓
Aug 16, 2009
Buddhism_Social.pdf
Buddhism_Social.pdfพระพุทธศาสนากับสังคมและการเมือง2099 viewsโดย นายจำนงค์ ทองประเสริฐ

ในหนังสือเล่นนี้ ผู้เขียนได้รวบรวมบทความที่ได้ตีพิมพ์ในนิตยสารต่างๆ มาเป็นเล่ม และบทความส่วนมาก เน้นหนักไปทางศาสนาที่มีส่วนสัมพันธ์ก้บสังคมและการเมืองเป็นส่วนใหญ่ บางเรื่องอาจจะใช้ข้อความหรือสำนวนค่อนข้างรุนแรง โดยเฉพาะเกี่ยวกับเรื่อง "สมณศักดิ์" โดยผู้เขียนได้วิพากษ์วิจารย์ทั้งในแง่ลบและแง่บวก เพื่อชี้ให้เห็นทั้งผลดีและผลเสียว่าเป็นอย่างไร

ส่วนบทความบางเรื่องที่เกี่ยวกับสังคม เช่นโรคจิตทราม เป็นต้น
Aug 15, 2009
Pradya_India.pdf
Pradya_India.pdfปรัชญาอินเดียร่วมสมัย4015 viewsโดยนายอดิศักดิ์ ทองบุญ

ผู้เขียนได้เรียบเรียงหนังสือปรัชญาอินเดียร่วมสมัย ซึ่งว่าด้วยปรัชญาของนักปรัชญาอินเดียรุ่นใหม่ ๗ ท่าน คือ สวามี รามกฤษณะ สวามี วิเวกานันทะ รพันทรนาถ ฐากุร ศรีอรพินโท มหาตมา คานธี ดร.ราธกฤษณัน และกฤษณจันทระ ภัฏฏาจารย์

หนังสือเล่มนี้ จะเป็นการกล่าวถึงปรัชญาอินเดียร่วมสมัย ที่เป็นปรัชญาผสมผสานกัน ระหว่างปรัชญาอินเดียโบราณ กับปรัชญาตะวันตก จนเกิดระบบปรัชญาแนวใหม่ขึ้น การที่จะศึกษาปรัชญาอินเดียร่วมสมัยให้เข้าใจดี จำเป็นต้องมีพื้นฐานความรู้ทั้งปรัชญาอินเดียโบราณและปรัชญาตะวันตกเป็นอย่างดี และวิธีการศึกษาให้มีพื้นความรู้ทั้ง ๒ ฝ่ายอย่างได้ผลดีที่สุด คือการศึกษาเปรียบเทียบในแง่มุมต่างๆ
Aug 15, 2009
ApiPradya.pdf
ApiPradya.pdfคู่มืออภิปรัชญา2968 viewsโดย นายอดิศักดิ์ ทองบุญ

วิชาอภิปรัชญา เป็นสาขาหนึ่งของวิชาประเภทปรัชญา และเป็นสาขาที่เข้าใจได้ยาก เพราะเนื้อหาของวิชานี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับความจริงของชีวิตมนุษย์ โลก และภาวะเหนือธรรมชาติ เช่นเรื่องพระเป็นเจ้า วิญญาณ ที่ศาสนาและลัทธิ ปรัชญาต่างๆ มีความคิด ความเห็นแตกต่างกัน ทั้งเรื่องเหล่านี้ ก็ล้วนเป็นเรื่องทางนามธรรม ยากแก่การที่จะพิสูจน์และใช้เหตุผลอธิบายให้เข้าใจได้
Aug 15, 2009
Conduct.pdf
Conduct.pdfจรรยาบรรณของข้าราชการ1319 viewsโดย พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต)

"จรรยาบรรณในปัจจุบัน เป็นเรื่องที่สำคัญมาก หลายท่านพูดกันว่า ศีลธรรมของสังคมเสื่อมลง ศีลธรรมที่ว่าเสื่อมนั้น ส่วนใหญ่เป็นจรรยาบรรณ นั่นเอง แต่เราองไม่ได้มองว่า จรรยาบรรณเสื่อม เรามาพูดกันว่า ศีลธรรมเสื่อม ถ้าเราแก้ปัญหาเรื่องจรรยาบรรณได้ บางที่จะลดปัญหาศีลธรรมลงไปได้มาก

ศีลธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณ คืออะไร สัมพันธ์กันอย่างไร?"

หนังสือจรรยาบรรณของข้าราชการ จะมีคำตอบสำหรับปัญหานี้ ซึ่งหนังสือเล่มนี้แต่งโดย พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) เมื่อคราวพระเดชพระคุณท่านได้รับเชิญไปอภิปรายร่วมกันเลขาธิการคณะรัฐมนตรี และประธาน ปปป. เมื่อวันที่ ๗ พฤศจิกายน ๒๕๓๗ ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล
Aug 15, 2009
Mahachula.pdf
Mahachula.pdfมหาจุฬาฯ ในอดีต1124 viewsโดย จำนงค์ ทองประเสริฐ ราชบัณฑิต

หนังสือนี้ จัดพิมพ์เ็ป็นอนุสรณ์ในงานฉลองที่ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้สถาปนามาครบ ๑๐๐ ปี ซึ่งนายจำนงค์ ทองประเสริฐ นิสิตรุ่นแรก ได้เขียน มหาจุฬาฯ ในอดีต ที่เป็นเหมือน บันทึกประวัติศาสตร์ เท่ากับเป็น การฟื้นความหลัง และเป็นการบันทึกข้อเท็จจริงเท่าที่ปรากฏหลักฐาน และที่ผู้เขียนมีประสบการณ์
Aug 14, 2009
Smarti.pdf
Smarti.pdfสมาธิในพระพุทธศาสนา (แปลจากหนังสือ Buddhist Meditation)3765 viewsby Ven.Dr.P.Vajiranana

หนังสือเล่มนี้ รองศาสตราจารย์ชูศักดิ์ ทิพย์เกษร แปลจากหนังสือ Buddhist Mediation ของ Ven. Dr.P.Vajiranana โดยที่หนังสือนี้เป็นผลแห่งการสืบสวนถึงภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ผลทีได้รับ การบรรลุธรรม และจุดมุ่งหมายสุดท้ายในการเจริญสมาธิในพระพุทธศาสนา ตามที่ค้นพบในพระคัมภีร์ต่างๆ ของฝ่ายเถรวาทซึ่งแต่งไว้เป็นภาษาบาลี

ในที่นี้ คำว่า สมาธิ ไม่ถือว่าเป็นการหลุดพ้นไปจากโลกซึ่งเป็นเชิงลบ แต่เป็นพลังที่ทรงความสามารถซึ่งเป็นเชิงบวก เป็นคุณธรรมที่สามารถยกสถานภาพของบุคคลจากสภาพธรรมดาขึ้นสู่สภาพที่ประเสริฐได้ เป็นมรรควิถีที่ช่วยบุคคลให้ออกจากความมืดคืออวิชชาได้ และช่วยพัฒนาความฉลาดให้สูงขึ้นจนถึงจุดรู้แจ้งเห็นจริงอย่างสมบูรณ์ ซึ่งเป็นเป้าหมายสุดท้ายที่มนุษย์แสวงหา เป็นวิถึทางอันเดียวที่จะนำบุคคลไปถึงความหลุดพ้นในที่สุด ซึ่งเป็นความสุขนิรันดร พระพุทธเจ้าตรัสเรียกกว่าหลุดพ้นนี้ว่า “นิรวาณ” (ตรงกับภาษาบาลีว่า นิพพาน) ในที่ทุกสถานในกาลทุกเมื่อ.
May 23, 2009
what_buddhaTeach.pdf
what_buddhaTeach.pdfพระพุทธเจ้าสอนอะไร (แปลจาก What the Buddha Taught)4017 viewsโดยคณาจารย์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

นี้เป็นคำอธิบายพระพุทธศาสนาแนวใหม่ที่สุด ของผู้แทนพุทธศาสนาท่านหนึ่งที่มีความรู้ที่สุดในพุทธศาสนา พระ ดร. ดับลิว ราหุลเถระ ได้รับการศึกษาอบรมตามแบบอย่างของพระภิกษุในประเทศศรีลังกา และได้รับตำแหน่งสำคัญหลายตำแหน่งในสถาบันการศึกษาชั้นนำของสงฆ์แห่งหนึ่งในประเทศศรีลังกา ซึ่งพระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่สมัยของพระเจ้าอโศก จนกระทั่งทุกวันนี้ เพราะได้รับอบรมสั่งสมทางโบราณประเพณีมา ท่านจึงได้ตัดสินใจเผชิญต่อความคิด และวิธีแห่งการเรียนทางวิทยาศาสตร์นานาชาติ ในขณะที่โบราณประเพณีกำลังเป็นที่สงสัยกัน
May 23, 2009
dhrama_manager.pdf
dhrama_manager.pdfคุณธรรมสำหรับนักบริหาร1504 viewsโดย พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต)

นักบริหารที่ดีต้องเป็นผู้ที่มีมันสมองในการจัดการบริหารงานต่างๆ ให้เกิดผลที่คุ้มค่าที่สุด นอกจากบริหารงานแล้วบุคลากรในหน่วยงานก็เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องบริหาร เพราะบุคลากรเหล่านี้ถือเป็นกลไกสำคัญที่จะทำให้งานประสบความสำเร็จ หรือพบกับความล้มเหลวได้เช่นกัน

การบริหารบุคลากรเพื่อความสำเร็จของงานได้นั้น การมีคุณธรรมเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งสำหรับนักบริหาร โดยนำหลักธรรมมาประยุกต์ใชในการบริหาร ซึ่งได้แก่ อธิปไตยสูตร และพละ๔ หากนักบริหารท่านใดมีคุณธรรมเช่นนี้ เขาสามารถที่จะปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และประสบผลสำเร็จได้อย่างแน่นอน
May 23, 2009
Dhrama_technology.pdf
Dhrama_technology.pdfก้าวสู่ศตวรรษใหม่ด้วยพุทธธรรมและเทคโนโลยี1339 viewsโดย พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต)

หนังสือ "ก้าวสู่ศตวรรษใหม่ด้วยพุทธธรรมและเทคโนโลยี" จะมองถึงจุดที่อยู่ในปัจจุบัน สังคมไทยจะไปทางไหนเมื่อก้าวสู่ศตวรรษที่ ๒๑ ในเวลาสองปีที่ผ่านมาเราสร้างภาพอนาคตของไทยไว้สวยหรูมาก ไม่มีใครพยากรณ์ว่าจะเกิดสภาพฟองสบู่แตก ในเศรษฐกิจของไทย ธนาคารโลกเคยพยากรณ์ไว้ว่า อีกไม่นานนัก ประเทศไทยจะมีเศรษฐกิจโตเป็นอันดับ ๘ ของโลก คนไทยฝันเฟื่องตามกันไป ไม่มีใครที่ใส่เบรคหรือเตือนสติใคร แม้กระทั่งในระดับผู้ทำแผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ก็ไม่มีใครคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยจะดิ่งเหวในเวลาอันรวดเร็ว
May 23, 2009
264 files on 27 page(s) 25