Buddhist eLibrary - An Online Digitl Resource Library Home :: Login
 
 
Home About Contact Admin Choose a language
eBook Library Image Library Audio Library Video Library
 
 
พันธมิตร
Buddhist eLibrary Feature: Buddhist Studies
การเชื่อมโยง
exabytes network
Social Bookmarks
Home > ห้องสมุดหนังสือ
Most viewed - ห้องสมุดหนังสือ
Visutti_Magga.pdf
Visutti_Magga.pdfพระวิสุทธิมรรค เล่มเดียวจบ6624 viewsชำระและตรวจทานโดย มหาวงศ์ ชาญบาลี

วิสุทธิมรรคประกอบด้วย 3 คัมภีร์คือ ศีลนิเทศ สมาธินิเทศ , ปัญญานิเทศ ถือว่าเป็นหลักของพระพุทธศษสนา อีกทั้งนักปราชญ์ยกย่องว่าเป็นหนังสือที่แต่งดี ฉนั้นวิสุทธิมรรคนี้จึงเป็นหนังสือที่มีประโยชน์สำคัญแก่พุทธศาสนิกชน
Wimootimark.pdf
Wimootimark.pdfวิมุตติมรรค5410 viewsโดยพระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) และคณาจารย์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

หนังสือวิมุตติมรรคเป็นวรรณคดีบาลีประเภทประกรณ์พิเศษที่อธิบายไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ และปัญญา อันเป็นวิมุตติมรรค์(ทางแห่งความหลุดพ้น) หนังสือนี้เป็นคู่มือสำหรับศึกษาและปฏิบัติธรรม ซึ่งแต่งก่อนหนังสือที่มีชื่อคล้ายกัน คือ คัมภีร์วิสุทธิมรรคของพระพุทธโฆสาจารย์

พระเถระผู้รจนาวิมุตติมรรค มีชื่อว่า พระอรหันต์ อุปติสสเถระ ชาวลังกา ผู้ชำนาญพระวินัยและมีชื่อปรากฏอยู่ในคัมภีร์ปริวารของพระวินัยปิฎก ท่านมีผลงานแพร่หลายในรัชกาลของพระเจ้าวสภะ ผู้ครองราชย์ในลังกา ระหว่าง พ.ศ. 609-653
Anapanasati_Bhavana.pdf
Anapanasati_Bhavana.pdfคู่มืออานาปานสติภาวนา อย่างสมบูรณ์แบบ5318 viewsโดยพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)

การ บรรยายในชุดคู่มือจำเป็นที่ต้องมีในการศึกษาและปฏิบัติของท่านอาจารย์พุทธ ทาสภิกขุ ตามแบบและวิธีของตนเองเพื่อเผยแผ่คำสอนที่ชี้แนะแนวทางการปฏิบัติอานาปานสติ ทั้ง ๑๖ ขั้น ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์อย่างใหญ่หลวงต่อผู้ที่สนใจในการปฏิบัติธรรมะใน พระพุทธศาสนา
Sustainable_Development.pdf
Sustainable_Development.pdfการพัฒนาที่ยั่งยืน4680 viewsโดยพระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต)

หนังสือ "การพัฒนาที่ยั่งยืน" เล่มนี้ เป็นการเรียบเรียงจากปาฐกถาของพระธรรมปิฎก(ป.อ.ปยุตฺโต) เนื่องในงานฉลองอายุครบ ๕ รอบนักษัตรของอาจารย์สุลักษณ์ ศิวรักษ์ และในโอกาสอาจารย์สุลักษณ์กลับมาจากการรับรางวัลสัมมาชีพ (Right Livelihood) ณ ประเทศสวีเดน
Human_manual.pdf
Human_manual.pdfคู่มือมนุษย์ ฉบับสมบูรณ์4591 viewsโดย พุทธทาสภิกขุ

ธรรมบรรยายเล่มนี้ มุ่งแสดงหลักพุทธศาสนา สำหรับบุคคลผู้มีปกติเพ่งพินิจหาเหตุผล จึงเป็นข้อธรรมะที่กล่าวเจาะจงถึงเนื้อแท้ อย่างเข้าใจง่าย และค่อยสูงขึ้นตามลำดับ
what_buddhaTeach.pdf
what_buddhaTeach.pdfพระพุทธเจ้าสอนอะไร (แปลจาก What the Buddha Taught)4015 viewsโดยคณาจารย์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

นี้เป็นคำอธิบายพระพุทธศาสนาแนวใหม่ที่สุด ของผู้แทนพุทธศาสนาท่านหนึ่งที่มีความรู้ที่สุดในพุทธศาสนา พระ ดร. ดับลิว ราหุลเถระ ได้รับการศึกษาอบรมตามแบบอย่างของพระภิกษุในประเทศศรีลังกา และได้รับตำแหน่งสำคัญหลายตำแหน่งในสถาบันการศึกษาชั้นนำของสงฆ์แห่งหนึ่งในประเทศศรีลังกา ซึ่งพระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่สมัยของพระเจ้าอโศก จนกระทั่งทุกวันนี้ เพราะได้รับอบรมสั่งสมทางโบราณประเพณีมา ท่านจึงได้ตัดสินใจเผชิญต่อความคิด และวิธีแห่งการเรียนทางวิทยาศาสตร์นานาชาติ ในขณะที่โบราณประเพณีกำลังเป็นที่สงสัยกัน
Pradya_India.pdf
Pradya_India.pdfปรัชญาอินเดียร่วมสมัย4014 viewsโดยนายอดิศักดิ์ ทองบุญ

ผู้เขียนได้เรียบเรียงหนังสือปรัชญาอินเดียร่วมสมัย ซึ่งว่าด้วยปรัชญาของนักปรัชญาอินเดียรุ่นใหม่ ๗ ท่าน คือ สวามี รามกฤษณะ สวามี วิเวกานันทะ รพันทรนาถ ฐากุร ศรีอรพินโท มหาตมา คานธี ดร.ราธกฤษณัน และกฤษณจันทระ ภัฏฏาจารย์

หนังสือเล่มนี้ จะเป็นการกล่าวถึงปรัชญาอินเดียร่วมสมัย ที่เป็นปรัชญาผสมผสานกัน ระหว่างปรัชญาอินเดียโบราณ กับปรัชญาตะวันตก จนเกิดระบบปรัชญาแนวใหม่ขึ้น การที่จะศึกษาปรัชญาอินเดียร่วมสมัยให้เข้าใจดี จำเป็นต้องมีพื้นฐานความรู้ทั้งปรัชญาอินเดียโบราณและปรัชญาตะวันตกเป็นอย่างดี และวิธีการศึกษาให้มีพื้นความรู้ทั้ง ๒ ฝ่ายอย่างได้ผลดีที่สุด คือการศึกษาเปรียบเทียบในแง่มุมต่างๆ
Smarti.pdf
Smarti.pdfสมาธิในพระพุทธศาสนา (แปลจากหนังสือ Buddhist Meditation)3765 viewsby Ven.Dr.P.Vajiranana

หนังสือเล่มนี้ รองศาสตราจารย์ชูศักดิ์ ทิพย์เกษร แปลจากหนังสือ Buddhist Mediation ของ Ven. Dr.P.Vajiranana โดยที่หนังสือนี้เป็นผลแห่งการสืบสวนถึงภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ผลทีได้รับ การบรรลุธรรม และจุดมุ่งหมายสุดท้ายในการเจริญสมาธิในพระพุทธศาสนา ตามที่ค้นพบในพระคัมภีร์ต่างๆ ของฝ่ายเถรวาทซึ่งแต่งไว้เป็นภาษาบาลี

ในที่นี้ คำว่า สมาธิ ไม่ถือว่าเป็นการหลุดพ้นไปจากโลกซึ่งเป็นเชิงลบ แต่เป็นพลังที่ทรงความสามารถซึ่งเป็นเชิงบวก เป็นคุณธรรมที่สามารถยกสถานภาพของบุคคลจากสภาพธรรมดาขึ้นสู่สภาพที่ประเสริฐได้ เป็นมรรควิถีที่ช่วยบุคคลให้ออกจากความมืดคืออวิชชาได้ และช่วยพัฒนาความฉลาดให้สูงขึ้นจนถึงจุดรู้แจ้งเห็นจริงอย่างสมบูรณ์ ซึ่งเป็นเป้าหมายสุดท้ายที่มนุษย์แสวงหา เป็นวิถึทางอันเดียวที่จะนำบุคคลไปถึงความหลุดพ้นในที่สุด ซึ่งเป็นความสุขนิรันดร พระพุทธเจ้าตรัสเรียกกว่าหลุดพ้นนี้ว่า “นิรวาณ” (ตรงกับภาษาบาลีว่า นิพพาน) ในที่ทุกสถานในกาลทุกเมื่อ.
Comparative_religion.pdf
Comparative_religion.pdfศาสนาเปรียบเทียบ3687 viewsโดย เสฐียร พันธรังษี

ศาสนาเปรียบเทียบ เป็น วิทยาการว่าด้วยศาสนา เป็นวิทยาการพื้นฐานแห่งวิทยาการทั้งปวง การศึกษาศาสนาเปรียบเทียบ มิได้มุ่งให้ศึกษาเพื่อให้ปฏิบัติธรรมในศาสนานั้นๆ เพื่อให้เข้าถึงอาณาจักรของพระเจ้า เพื่อให้ถึงซึ่งความหลุดพ้น หรือเพื่อให้บรรลุถึงซึ่งนิพพาน แต่ประการใด หากมุ่งเพื่อให้เข้าใจสังคมมนุษย์ ให้รู้จักจิตใจมนุษย์ ในฐานะนักสังคมตามแบบปฏิบัติแห่งศาสดาผู้ประกาศศาสนานั้นๆ ดังนั้นการศึกษาศาสนาเปรียบเทียบ จึงมุ่งหมายเพียงเพื่อให้รู้จักและเข้าใจฐานะที่เราอยู่ในสังคมของมนุษย์เป็นสำคัญ
Buddharangsi.pdf
Buddharangsi.pdfพุทธรังษีธฤษดีญาณ ว่าด้วยสมถะและวิปัสสนากัมมัฏฐาน 4 ยุค3667 viewsโดย ธฤษดีญาณ ว่าด้วยสมถะและวิปัสสนากัมมัฏฐาน 4 ยุค

หนังสือสมถะและวิปัสสนาของเก่าหลายสำนวน ได้มาจากต่างถิ่นต่างทาง คือได้มาจาก จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่เป็นของเนื่องมาจากแต่นครเวียงจันทร์ อันพระเถระเจ้าทั้งหลายชาวนครเวียงจันทร์แด่โบราณกาลได้รจนาขึ้นไว้บ้าง ได้มาจากจังหวัดลพบุรีบ้าง ได้มาจากทางพระนครกรุงศรีอยุธยาบ้าง ได้ที่พระนครกรุงเทพฯ นี้บ้าง หนังสือปวงนี้ พระมหาโชติปญฺโญ ป.๕ วัดบรมนิวาส เป็นผู้รวบรวบจัดพิมพ์ขึ้นไว้เป็นหนังสือ
264 files on 27 page(s) 1